โครงการเกษตรเพื่อการเรียนรู้

โครงการเกษตรเพื่อการเรียนรู้

Economy

ความเป็นมา

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์กรอิสระในการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนการแก้วิกฤตชาติ โดยการน้อมนำศาสตร์ของพระราชามาสู่การปฏิบัติ จัดตั้งขึ้นจากการประชุมหารือกัน ณ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ของ ๔ องค์กร ได้แก่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕

วิสัยทัศน์

๐ สร้างรูปธรรมในการแก้วิกฤตด้านต่างๆของมนุษยชาติ โดยหลักคิดและวิธีการ ของพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก
๐ ผลักดันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นจิตสำนึกและหลักปฏิบัติสำหรับทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อแก้ปัญหาวิกฤต ๔ ด้าน
  • Environmental Crisis   ภัยธรรมชาติ และวิกฤตสิ่งแวดล้อม
  • Epidemic Crisis   โรคระบาดในคน สัตว์ พืช
  • Economic Crisis   วิกฤตเศรษฐกิจ/ข้าวยากหมากแพง
  • Political/Social Crisis   ความขัดแย้งทางสังคม/สงคราม

พันธกิจ

การขับเคลื่อนเครือข่าย : ดำเนินการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน โดยการผสานรวม ๕ ภาคส่วน ได้แก่ ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน ดำเนินการจัดตั้ง ๔ ขั้นตอน
๑. การเคลื่อนไหวความคิด (Mobilizing idea)  กระบวนการเปลี่ยนความคิด เพื่อเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจากความคิดเดิมสู่ความคิดใหม่
๒. การจัดตั้งระบบความคิดใหม่ (Cultural reproduction) โดยนำศาสตร์พระราชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการจัดการ ดิน น้ำ ป่า ร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ลงไปปฏิบัติแบบคนจน ไม่ติดตำรา
๓. จัดตั้งองค์กรและการนำ (Organization and Leadership) โดยเป็นการจัดองค์กรแบบพลวัต (Dynamic Organization) และลักษณะการนำ (Leadership) แบบผลัดกันนำตามประเด็น
๔. การกระชับองค์กรจัดตั้ง (Strengthening Organization) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเป็นขบวน   หนุนเสริมให้กำลังใจจนเกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม

รายชื่อผู้ดำเนินการโครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง

farmland_04

ที่ปรึกษาโครงการ
– ร.อ.อิทธิศักดิ์ ยาจามิ
นายทหารควบคุม
– ร.ต.อัฐคม   บุญแนบ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ
– จ.ส.อ.ชาญ    มั่นแย้ม
– จ.ส.อ.ณัฐวุฒิ  เสมาทอง
– ส.ท.ธนกฤต   สุรารักษ์

ตัวอย่างการนำไปปฏิบัติ

farmland_01

ตัวอย่างการจัดการพื้นที่ ๓ ไร่

คำนวณทางเศรษฐกิจ
ทำนาและเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ
  • จับปลาขายปีละ ๑ ครั้ง (ทำนาครั้งเดียว)
  • ข้าวไร่ละ ๑ ตัน รวมได้ข้าว ๑.ตัน จำหน่ายราคา ๑๐,๐๐๐ บาท  รวม  ๑๕,๐๐๐ บาท
  • ปลาในนา ๑,๕๐๐ กก. ราคากก.ละ ๗๐ บาท รวม ๑๐๕,๐๐๐ บาท
  • ปลาในหนอง ๘๖๒ กก. ราคา ๗๐ บาท/กก. รวม ๖๐,๓๔๐ บาท
  • พืชฤดูแล้ง เช่น ฟักทอง ๖,๐๐๐ กก. ราคา ๑๐ บาท รวม ๖๐,๐๐๐ บาท
  • กล้วย ใบตอง ผักเด็ดยอด ๑๒,๐๐๐ บาท รวม   ๒๕๒,๒๔๐ บาท
เฉลี่ย  ๒๑,๐๒๘ บาท/เดือน
โดยมีข้าว ปลา อาหารพอเพียงในครัวเรือนแล้ว
farmland_02

คำนวณทางทรัพยากรธรรมชาติ

ปริมาณการกักเก็บน้ำในพื้นที่ และพื้นที่ป่าไม้ที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการกักเก็บน้ำได้จากแปลงพื้นที่ ๗,๖๘๐ ลบ.ม. เมื่อเทียบปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ประมาณ ๖,๗๒๐ ลบ.ม. แสดงว่าเก็บน้ำไว้ได้เกิน ๑๐๐% พื้นที่นี้มีน้ำพอเพียงต่อการทำการเกษตรและไม่ปล่อยน้ำมาท่วมด้านล่าง (ฝนตก ๑๐๐% เก็บไว้ ๑๑๔%) ปลูกป่ารอบหัวคันนา และบนพื้นที่โคก ได้พื้นที่ป่า ๑.๕๐ ไร่

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้กำลังพลภายในหน่วยมีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักของความพอเพียง และการใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ
๒. เพื่อให้กำลังพลภายในครอบครัวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักถึงความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. เพื่อเป็นการช่วยเหลือกำลังพลให้มีแหล่งอาหารราคาถูก
๔ .เพื่อให้กำลังพลลดค่าใช่จ่ายในครอบครัว
๕. เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนให้เข้มแข็งน่าอยู่ยิ่งขึ้น

แผนการดำเนินงาน

farmland_21

วิธีการดำเนินการ

๑.ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อกำหนดกิจกรรมโครงการ
๒.จัดตั้งสถานีเรียนรู้ ๑๐ สถานี
๓.ดำเนินการตามโครงการ ๑๐ สถานี
๓.๑  การทำปุ๋ยหมัก จ.ส.อ.สมชาย พลับพลา พลฯเบญจรงค์ เพชรเดิม
๓.๒  การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ จ.ส.อ.ณัฐวุติ เสมาทอง พลฯพีระพงษ์ จันทร์มน
๓.๓  การเลี้ยงปลาบ่อดิน จ.ส.อ.ชาญ   มั่นแย้ม พลฯธิติวัตน์ นิติรัตน์
๓.๔  การเลี้ยงปลาบ่อซีเมนต์ จ.ส.อ.ชาญ   มั่นแย้ม พลฯธิติวัตน์ นิติรัตน์
๓.๕  การปลูกพืชผักสวนครัว จ.ส.อ.สมยศ จันทร์อยู่ พลฯวิโรจน์ แดงซิว
๓.๖  การเลี้ยงสัตว์ จ.ส.อ.เดชา อุปวัตน์ พลฯภูวดล ชนชนะ
๓.๗  การปลูกไม้ยืนต้น ส.ท.การัณย์ แจ้งการณ์ พลฯกิติทัศ โกกิจ
๓.๘  แปลงนาสาธิต ส.อ.อุดร มะหิทธิ พลฯวิบูลย์ บัวคง
๓.๙  แปลงหญ้าแฝกสาธิต ส.อ.อุดร มะหิทธิ พลฯวิบูลย์ บัวคง
๓.๑๐ การปลูกพืชผักระบบไฮโดรโปนิคส์ จ.ส.อ.ณัฐวุติ เสมาทอง พลฯกิติทัศ โกกิจ

โครงการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ

ปลาทับทิม        จำนวน        ๕๐๐    ตัว
ปลาตะเพียน     จำนวน        ๕๐๐    ตัว
ปลานิล              จำนวน    ๑,๕๐๐    ตัว
ปลาดุก              จำนวน     ๑,๐๐๐    ตัว

โครงการปลูกผักสวนครัว

กะเพรา        จำนวน   ๕   แปลง
ต้นแมงลัก   จำนวน   ๕   แปลง
ต้นโหระพา  จำนวน   ๕   แปลง
ต้นมะเขือ    จำนวน    ๒   แปลง
ต้นฟัก          จำนวน   ๒   แปลง
ต้นชะอม     จำนวน    ๒   แปลง

โครงการปลูกผักสวนครัว

farmland_02
farmland_05

โครงการเลี้ยงสัตว์

farmland_03

โครงการปุ๋ยน้ำชีวภาพ

farmland_04

โครงการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ

farmland_06

โครงการปลูกพืชผักระบบไฮโดรโปนิคส์

farmland_01
farmland_07